วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การขนส่งทางรถไฟของจีน

"Asean Plus 3 กับการขนส่งและการท่องเที่ยว"

การขนส่งทางรถไฟในจีน

     
การใช้บริการการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟมีสภาพที่คับคั่งและแออัดยัดเยียดมากที่ สุดแห่งหนึ่งในโลก ดังนั้นกว่ารตอ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์จะเข้าไปถึงชานชาลาได้ ก็ต้องเบียดเสียดผู้คนเข้าไปอย่างทุลักทุเล รถไฟสายตงเป่ยลู่เสี้ยน(สายตะวันออกเฉียงเหนือ)ระหว่างปักกิ่ง-เมืองฉี๋ฉี๋ ฮาเออ เคลื่อนออกจากสถานีรถไฟปักกิ่งช้าๆ ตั๋วโดยสารนั่งราคา ๑๕๑ หยวน(หยวนละ ๔.๕บาท) เดินทางจากปักกิ่งถึงเมืองฮาเอ่อร์ปิน(ฮาร์บิน) ใช้เวลา ๑๖ ชั่วโมง
รถไฟประเทศจีน 

             จีน มีประชากรกว่า ๑,๓๐๐ ล้านคน การขนส่งผู้โดยสารจำนวนมากทำอย่างไรก็ไม่เพียงพอ รถประจำทางและรถไฟจึงมีตั๋วยืนราคาถูกลงมา แค่ลุกไปห้องน้ำบนรถไฟสายยาวของจีนก็จะมีผู้โดยสารตีตั๋วยืนเข้านั่งแทน ความลำบากทำให้คนจีนที่ไปเห็นทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ในแอฟริกาไปตั้งถิ่นฐาน ใหม่ประเทศละหลายหมื่นคน บางประเทศมีคนจีนเป็นแสนคน

เมืองปักกิ่ง(ประเทศจีน) 
 
         เมื่อ วันที่๙ มกราคม ๒๕๕๑ เจ้าหน้าที่ของจีน มองโกเลีย รัสเซีย เบลารุส โปแลนด์และเยอรมนีลงนามบันทึกช่วยจำที่ปักกิ่งขยายความร่วมมือด้านการขนส่ง สินค้า รถไฟสายโลจิติกส์จากปักกิ่งขบวนแรกได้แล่นออกจากฐานโลจิติกส์ของบริษัท ไชนา เรลเวย์ คอนเทนเนอร์ ทรานสปอร์ต (China Railway Containner Transport) สู่ปลายทางนครฮัมบูร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีระยะทาง ๙,๗๘๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๑๘ วัน
จีนและเวียดนามได้ เปรียบไทยมาก ทิศเหนือของเวียดนามเป็นเขตปกครองตนเองกว่างซี มีถนนและรถไฟไปเชื่อมต่อกับมณฑลต่างๆของจีน เวียดนามมีท่าเรือน้ำลึกหลายแห่ง อยู่ไม่ไกลจากมณฑลตอนใต้ของจีนกับมณฑลตะวันออกซึ่งมีเครือข่ายท่าเรือเชื่อม กับรางรถไฟ สินค้าจากทั้งสองประเทศจึงใช้รถไฟไประบายในสาธารณรัฐแลนด์ล็อกที่ไม่มี ทางออกทะเล
จากปักกิ่งเดินทาง ๑๖ ชั่วโมงถึงนครฮาเอ่อร์ปิน มณฑลเฮยหลงเจียงอยู่ติดกับรัสเซีย นักเดินทางต้องหาซื้อเสื้อผ้าใหม่เพราะเสื้อผ้าที่ใส่จากกรุงปักกิ่งรับ อุณหภูมิได้ประมาณ ๑ ถึง ๑๐ องศาเซ็นเซียส แต่อุณหภูมิกลางคืนนอกเมืองฮาเอ่อร์ปินต่ำประมาณ ๓๕ องศา ในตัวนครฮาเอ่อร์ปิน ประมาณ๒๖ องศา[12]
คน ไทยคุ้นเคยกับการลงทุนที่มณฑลทางภาคใต้และเมืองท่าของจีน ได้แก่ หยุนหนาน กว่างตง (กวางตุ้ง) ผูเจี้ยน ไหหนาน (ไหหลำ) เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยเห็นว่าภาคเหนือกับภาคตะวันตกที่ติดกับมองโกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซ ฯลฯ ยังไม่เจริญ

กำแพงเมืองจีน (ประเทศจีน) - The Great Wall of China

         จีนมีพื้นที่กว้าง ใหญ่ไพศาล มีที่ติดทะเลทางตอนใต้และตะวันออกบางส่วน การพัฒนาประเทศจึงไม่กระจาย จากการประชุมที่ซีอานทำให้รู้ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า(พ.ศ.2558) จีนจะใช้เงินสร้างรางรถไฟอีก 127 พันล้านหยวน(693,000 ล้านบาท) จะสร้างสนามบินอีก 28 แห่ง และปรับปรุงสนามบินหลักอีก 27 แห่งใน 12 มณฑลทางภาคตะวันตก โดยใช้เงินอีก 20 พันล้านหยวน(แสนกว่าล้านบาท) เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวจากทุกทวีปบินตรงไปยัง 12 มณฑลทางภาคตะวันตกโดยไม่ต้องผ่านปักกิ่งหรือภาคอื่นๆ กระทรวงรถไฟจีนยังมีโครงการจะสร้างรถไฟหลายสาย เช่น

นครคุนหมิง

1. เส้นทางรถไฟจากนครคุนหมิง มณฑลหยุนหนานมาสิงคโปร์ ผ่านพม่า ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ นายหวัง หลินซู กล่าวถึงเฉพาะข้อดีด้านการขนถ่ายสินค้า การส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างจีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย และการหาทางออกทะเลให้สินค้าที่ผลิตจากทางตอนใต้ของจีนสู่สิงคโปร์แต่ไม่ได้ พูดถึงเมืองไทย

ชาวอุยกูร์เมืองคาชการ์ (คาสือ) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

 










2. เส้นทางรถไฟจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ไปสาธารณรัฐต่างๆในเอเชียกลาง มีการประชุมว่าจะสร้างรางนานาชาติระยะทาง 300 กม. รถไฟระหว่างจีน คีร์กีซ และอุซเบกิสถาน

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำถามประจำบทที่ 4

1.จงอธิบายความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตอบ แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศ ที่อีกประการหนึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ สร้างงานแก่คนในท้องถิ่นและในระดับประเทศต่อไป

อ่าวนาง(จังหวัดกระบี่)
2.Tourism Resource,Destiration และ Tourist Attraction หมายถึงอะไร
 ตอบ Tourism Resource หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
Destiration หมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆไปหรืออาจเป็นหลายๆสถานที่
Tourist Attraction หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม


3.ให้นักศึกษายกตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวในภูมิลำเนาของนักศึกษา พร้อมกับอธิบายถึงคุณสมบัติที่ดีของแหล่งท่องเที่ยว 3As นั้นมาพอเข้าใจ
สุสานหอย 40 ล้านปี(จังหวัดกระบี่)     
ตอบ สุสานหอยล้านปี จังหวัดกระบี่ 3As คือ สุสานหอยล้านปีที่มีความดึงดูดใจ(Attractions) เพราะมีซากหอยกองรวมกันนับล้านปี อีกสิ่งหนึ่งสุสานหอยล้านปี อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว คือ อ่าวนาง หาดนพรัตน์ธารา เกาะพีพี ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเที่ยวชมบรรยากาศสุสานหอยแล้วเดินทางต่อไปในสถานที่ต่างๆบริเวณใกล้ได้ในวันเดียวกัน สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว(Amenities) เพื่อไปเที่ยวชมเกาะพีพีต่อไป ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมชาติ ความสวยงามของชายหาดและทะเลอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย

4.แหล่งท่องเที่ยวที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ สำหรับกรณีของประเทศไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ มี 7 ประเภท คือ
  1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
  2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ
  3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
  4. ย่านประวัติศาสตร์
  5. อุทยานประวัติศาสตร์
  6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
  7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
5.จงยกตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรมประเพณี และกิจกรรมของภาคต่างๆในประเทศไทย อย่างน้อย ภาคละ 3 แหล่งท่องเที่ยว
ตอบ
  • ภาคกลาง  มีระบำชาวไร่รับขวัญของจังหวัดเชียงใหม่ งานสงกรานต์จังหวัดเชียงราย งานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือที่จังหวัดกำแพงเพชร
  • ภาคใต้ การแสดงโนราห์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช งานกินเจที่จังหวัดภูเก็ต งานแข่งเรือชักพระจังหวัดสุราษฎร์

ธงเหลืองโบกสะบัดส่งสัญญาณเริ่มเทศกาลกินเจภูเก็ต

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 60 จังหวัดอุดรธานี งานภูมิทัศน์วัฒนธรรม จังหวัดอุดรธานี งานบั้งไฟพญานาค จังหวัดหนองคาย
บั้งไฟพญานาคมีรัศมีสีเขียว ถ่ายได้จากกลางแม่น้ำโขง
  • ภาคตะวันออก งานมหกรรมวัฒนธรรมตะวันออกจังหวัดนครนายก โครงการวัฒนธรรมสายใยชุมชนดีเด่นจังหวัดตราด งานสงกรานต์ที่ัจังหวัดจันทบุรี

สรุปบทที่ 4

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
    แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวได้แก่
      1.ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources)หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ

      2.จุดหมายปลายทาง(Destination) หมายถึงสถานการณ์ที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆสถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

      3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(Tourist Attraction)หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมหรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
   จากคำ 3 คำ ข้างต้น สรุปความหมายของแหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจหรือด้านนันทนาการ
ประเภทของแหล่งท่องที่ยว
     อาจแบ่งได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆ ได้แก่ ขอบเขต (Scope) ความเป็นเจ้าของ (Ownership) ความถาวรคงทน (Permanency)  ศักยาภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว (Drawing Power)
ขอบเขต
     อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภท ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) และจุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination)
ความเป็นเจ้าของ
     ผู้ที่จัดว่าเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ รัฐบาล (Government) องค์กรท่ไม่หวังผลกำไร (Non profit Organization) และเอกชน (Private) (Nonma Polovitz Nickerson)อาทิ อุทยานแห่งชาติ และพิพิธภัณฑสถานแ่ห่งชาติ
ความคงทนถาวร
     คือการแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่เป็นสถานที่(Sites) อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ(Festivals of Events)
ศักยาภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
     แหล่งท่องเที่ยวที่ยังได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชน และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
      หมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีววิทยาและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์ปรับปรุงเพิ่มเติม ซึ่งไม่่มีต้นทุนทางการผลิต แต่มีต้นทุนในการดูแลรักษา อาทิ ภูเขา น้ำตก หาดทราย เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
      คือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุรวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศนั้นกรมศิลปากรได้แบ่ง โบราณสถานออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ



          1.โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(อนุสาวรีย์แห่งชาติ)
          2.อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่ได้สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ
          3.อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอันทรงไว้ซึ่งคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ
          4.ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยากรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง
          5.อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง พื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์
          6.นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือเมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง
          7.ซากโบราณและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
        เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน "วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นึงจะพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้"
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง
         ภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพไม่นับ เนื่องจากถือเป็นเขตการปกครองพิเศษเนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย
ภาคเหนือ
         ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ เป็นทิวเขาทอดยาวเหนือลงมาใต้ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัยเป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาีคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี มีพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน
ภาคตะวันออก
         ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ัจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราดและระยอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเืทือกเขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจนจดกับเทือกเขาพนม ดงรัก
ภาคใต้
         ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูิเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางชายฝั่งตะวันออก
ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งหมด 5 แห่ง คือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง

  • ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534



 
  • อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

  • แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535

  • ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2548  
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่
      

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 3

คำถามท้ายบทที่ 3
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hieranchy of needs)นำมาใช้อธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยวไ้ด้อย่างไร

ตอบ Maslow กล่าว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความต้องการจำเป็นต่างๆ (needs) ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนอง มนุษย์ก็จะมีความต้องการอีกระดับหนึ่งเกิดขึ้นทดแทน ทฤษฎีลำดับขึ้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow ซึ่งอธิบายถึงความต้องการพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ซึ่งพฤติกรรมทั้ง 5 ขั้นของ Maslow เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความต้องการท่องเที่ยวที่ต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน เช่น ความต้องการทางด้านสรีระวิทยาหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค ทำให้มนุษย์เกิดความต้องการท่องเที่ยวทะเล อาบน้ำแร่หรือน้ำพุร้อนเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ความต้องการของมนุษย์เป็นเหมือนสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์หรือนักท่องเที่ยวเกิดความต้องการไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้ง 5 ของMaslow

2.แรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆมีอะไรบ้าง
ตอบ    - ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด (ผู้อื่นกำหนดและตัวเองกำหนด)            - ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง (ผู้อื่นกำหนดและตัวเองกำหนด)
          - ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ (ผู้อื่นกำหนดและตัวเองกำหนด)
          - ความต้องการความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเอง (ผู้อื่นกำหนดและตัวเองกำหนด)
          - ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
3.จงอธิบายโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตอบ  “โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”หมายถึงองค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับ การท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้แก่
   1.ระบบไฟฟ้า จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี
   2.ระบบประปา ควรมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย มีปริมาณเพียงพอ และมีการกระจายอย่างทั่วถึง
   3.ระบบสื่อสารคมนาคม ต้องมีความสะดวกรวดเร็ว มีปริมาณหน่วยบริการที่เพียงพอและกระจายอย่างทั่วถึง
   4.ระบบการขนส่งประกอบด้วย
        4.1ระบบเดินทางทางอากาศ ควรเชื่อมโยงจัดเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

        4.2 ระบบการเดินทางทางบก เส้นทางถนน ทางรถไฟควรจัดให้มีครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว
         4.3ระบบการเดินทางทางน้ำ ท่าเรือควรง่ายต่อการเข้าถึง ควรจัดสร้างให้มีความปลอดภัย มีมาตรฐานสากล
    5.ระบบสาธารณสุข ควรมีสารธารณสุขที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยควรมีสถานพยาบาล และโรงพยาบาลในท้องถิ่นที่ใกล้แหล่งทอ่งเที่ยวและมีค่ารักษาพยาบาลที่ยุติธรรม
4.ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ มีความสำคัญอย่างไรต่อการท่องเที่ยว

ตอบ เป็นสิ่งหรือปัจจัยที่กระตุ้นและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเกิดความต้องการที่จะท่องเที่ยวในสถานที่นั้นๆเช่น อยากไปเที่ยวภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว  ไปท่องเที่ยวทะเลภาคใต้ในช่วงฤดูร้อนเพราะภาคใต้มีทะเลที่สวยงาม เดินทางไปเขาใหญ่เพื่อเที่ยวชมบรรยากาศธรรมชาติ และอื่นๆ

สรุปบทที่ 3

บทที่ 3
     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
   แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดเป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา(Phychological) ผสมกับแนวคิดทาด้านสังคมวิทยา(Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ทั้งหมดของพลัง ทางวัฒนธรรม และพลังทางชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
  1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy of needs)

   ทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow พอจะนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยว Maslow กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ Maslow ได้เสนอขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม 5 ขึ้น ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น( Motivation) ให้เกิดพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ ลำดับขั้นแห่งความต้องการแบบนี้ถูกนำเสนอในรูปปิระมิดดังแผนภูมิข้างล่างนี้
 
                  (http://www.pakxe.com/document-pool/content/maslow/maslow_page.htm)

2.ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)

     ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีระวิทยา ถึงขั้นที่ 4 หรือความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงนั้น ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากกลุ่มบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self-directed) ส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other-directed) ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการได้รับความพอใจสูงสุด(Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3.แรงจูงใจในวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda)ของ Crompton
      แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นของ Crompton มี 7 ประเภทดังต่อไปนี้
            1.การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ (Escape from mundane)
            2.การสำรวจและการประเมินตนเอง (Exploration and evaluation of self)
            3.การพักผ่อน (Relaxation)

            4.ความต้องการเกียรติภูมิ (Prestige)
            5.ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม (Regression)
            6.กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ (Enhancement of kinship)
            7.การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม (Facilitation of socail interaction)
4.แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
       ในหนังสือเรื่อง Consumer Behaviour in Tourism ของ John Swarbrooke ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1999 Swarbrooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆ ที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ

       1.แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ(Physical)
       2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
       3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความรู้สึกบางอย่าง(Emotional)
       4.การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพ(Status)
       5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง (Personal development)
       6.แรงจูงใจส่วนบุคคล(Personal)
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
   Pearce,Morrison และ Rutledge(1998)ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังนี้
      1.แรงจูงใที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
      2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
      3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
      4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
      5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
      6.แีรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
       7.แรงจูงใที่จะมีสุขภาพดี
       8.แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและปลอดภัย
       9.แรงจูงใที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
       10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
        1.ระบบไฟฟ้า  จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี
      2.ระบบประปา ควรมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย มีปริมาณเพียงพอ และมีการกระจายอย่างทั่วถึง




     3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ควรมีความสะดวกรวดเร็ว มีปริมาณหน่วยบริการที่เพียงพอและกระจายอย่างทั่วถึง
      4. ระบบการขนส่ง ประกอบด้วย
         4.1 ระบบขนส่งทางอากาศ ควรจัดให้มีเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
           4.2 ระบบการเดินทางทางบก เส้นทางถนน และเส้นทางรถไฟควรจัดครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว
          4.3 ระบบการเดินทางทางน้ำ เส้นทางการเดินทางทางน้ำ ควรพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวใ้หเหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
    1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
       1.1.ลักษณะภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎ อยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมีได้ 2 ลักษณะ คือ
                 1.)การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขาหรือภูเขาไฟ ซึ่งเกิดจากการดันตัวของความร้อนใต้ผิวโลก
                 2.)การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทรายในทะเลทรายซึ่งเกิดจากลมที่พัดพาทรายมากองกันเป็นเนิน
        1.2 ปัจจัยทางวัฒนธรรม
          วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิ ของคนในสังคม นับแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วัฒนธรรมแต่ละชาติ ล้วนแตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจและส่งเสริมให้คนต่างวัฒนธรรมเข้ามาเที่ยวชมความแตกต่าง