วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปบทที่ 4

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
    แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวได้แก่
      1.ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources)หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ

      2.จุดหมายปลายทาง(Destination) หมายถึงสถานการณ์ที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆสถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

      3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(Tourist Attraction)หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมหรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
   จากคำ 3 คำ ข้างต้น สรุปความหมายของแหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจหรือด้านนันทนาการ
ประเภทของแหล่งท่องที่ยว
     อาจแบ่งได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆ ได้แก่ ขอบเขต (Scope) ความเป็นเจ้าของ (Ownership) ความถาวรคงทน (Permanency)  ศักยาภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว (Drawing Power)
ขอบเขต
     อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภท ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) และจุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination)
ความเป็นเจ้าของ
     ผู้ที่จัดว่าเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ รัฐบาล (Government) องค์กรท่ไม่หวังผลกำไร (Non profit Organization) และเอกชน (Private) (Nonma Polovitz Nickerson)อาทิ อุทยานแห่งชาติ และพิพิธภัณฑสถานแ่ห่งชาติ
ความคงทนถาวร
     คือการแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่เป็นสถานที่(Sites) อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ(Festivals of Events)
ศักยาภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
     แหล่งท่องเที่ยวที่ยังได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชน และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
      หมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีววิทยาและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์ปรับปรุงเพิ่มเติม ซึ่งไม่่มีต้นทุนทางการผลิต แต่มีต้นทุนในการดูแลรักษา อาทิ ภูเขา น้ำตก หาดทราย เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
      คือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุรวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศนั้นกรมศิลปากรได้แบ่ง โบราณสถานออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ



          1.โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(อนุสาวรีย์แห่งชาติ)
          2.อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่ได้สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ
          3.อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอันทรงไว้ซึ่งคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ
          4.ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยากรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง
          5.อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง พื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์
          6.นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือเมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง
          7.ซากโบราณและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
        เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน "วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นึงจะพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้"
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง
         ภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพไม่นับ เนื่องจากถือเป็นเขตการปกครองพิเศษเนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย
ภาคเหนือ
         ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ เป็นทิวเขาทอดยาวเหนือลงมาใต้ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัยเป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาีคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี มีพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน
ภาคตะวันออก
         ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ัจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราดและระยอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเืทือกเขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจนจดกับเทือกเขาพนม ดงรัก
ภาคใต้
         ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูิเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางชายฝั่งตะวันออก
ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งหมด 5 แห่ง คือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง

  • ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534



 
  • อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

  • แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535

  • ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2548  
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่
      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น