วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำถามบทที่ 1

1. จงอธิบายความหมายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงานการลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด
2. การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมีเกณฑ์ใดเป็นตัวกำหนด จงอธิบายและยกตัวอย่างการเดินทางที่เป็นการท่องเที่ยวประกอบ
  • การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมีเกณฑ์ตัดสินตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
            1.)การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน เช่นการเดินทางไปอาบแดดชายทะเล
            2.)การเดินทางเพื่อธุรกิจ เช่น การเดินทางไปประชุมในวาระต่างๆ
            3.)การเดินทางวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น นักท่องเที่ยวเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

3.ผู้มาเยือนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
  • ผู้มาเยือนมี 3 ประเภท
             1.)ผู้มาเยือนขาเข้า คือผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนัำกในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง
             2.)ผู้มาเยือนขาออก คือผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปทอ่งเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง
            3.)ผู้มาเยือนภายในประเทศ คือผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่

4.จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมาพอเข้าใจ
  • การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินเป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ร่าเริง
  • การเดินทางเพื่อธุรกิจ เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบอาชีพ
  • การเดินทางเื่พื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ อาจเรียกว่าการเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์ที่ซับซ้อน

5.การท่องเที่ยวที่แบ่งตามสากล มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
  • มี 3 ประเภท
           1.)การท่องเที่ยวภายในประเทศ
           2.)การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ
           3.)การท่องเที่ยวนอกประเทศ

6.จงอธิบายความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
  • สร้างรายได้เป็นเิงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
  • การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น
  • การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
  • การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหาการว่างงาน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 2

1.)ท่านคิดว่าการเปิดสปาในเมืองบาธขึ้นใหม่จะประสบความสำเร็จแค่ไหนและสปาอื่นๆจะกลับมามีชีวิตขึึ้้นมาใหม่ได้หรือไม่ในอังกฤษ อธิบายว่าทำไมสปาในอังกฤษไม่เป็นที่นิยมขณะที่ยุโรปเป็นที่นิยม
  • การเปิดสปาในเมืองบาธขึ้นมาใหม่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเดิม เพราะคนกำลังหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพกันมากขึ้นโดยเฉพาะวิธีการบำบัดโดยธรรมชาติ
  • สปาในอังกฤษก็กลับมามีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้ เพราะในอังกฤษก็มีแหล่งน้ำแร่กำมะถันที่เข้มข้นที่สุด ทำให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภท Spa Resort และเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
  • สปาในอังกฤษไม่เป็นที่นิยมและในยุโรปกลับเป็นที่นิยม เพราะคนมีความเชื่อว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา ทำให้คนที่เจ็บป่วยเดินทางไปยังเมือง Bath และแหล่งน้ำแร่ดีบุกแหล่งหนึ่งที่เมืองBuxton เป็นที่นิยมมากกว่าในอังกฤษ

2.)ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวหลายอย่างของผู้ประกอบการ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทีเ่ปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จงอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่จะสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน
  • นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับเวลาและเงินมากที่สุด และที่สำคัญเท่ากับเงิน และเวลานั้นก็คือสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ความก้าวหน้าของพาหนะในการเดินทาง และความเจริญทางด้านท่องเที่่ยวมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ผู้ประกอบการจึงต้องการพาหนะที่อยู่ในวงเงินที่เราจะจ่ายได้ มีความรวดเร็ว ปลอดภัย สะดวกสบายเพียงพอ การขจัดข้อจำกัดในด้านต่างๆนี้จะส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว
3.)ทำไมประเทศอังกฤษจึงเป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญในด้านการท่องเที่ยวสมัยใหม่
  • เพราะประเทศอังกฤษได้พัฒนาการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ของเรือกลไฟ ให้เร็วขึ้น และเชื่อใจได้มากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ประเทศอังกฤษยังเป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการด้วยเรือน้ำลึก ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นประเทศมหาอำนาจทางการขนส่งทางทะเลในช่วงหลังศตวรรษที่ 19

สถิตินักท่องเที่ยว เดือนJanuary -October 2010

ความรู้เรื่องเมืองสยาม จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
    เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมาจากกรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึง เสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตเรื่องราวนานาประการที่แปลกๆเกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗(พ.ศ.๒๒๓๐)เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐)ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขตความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลและศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วย ไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตและรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้
ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม บทที่หนึ่ง ลักษณะทางภูมิประเทศ
   ๑.เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้างและมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดเป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต

   ๒.พรมแดนด้านเหนือ ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้นขนาดของพื้นที่จะตก ประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด(ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)
   ๓.เชียงใหม่ และทะเลสาบ ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน(๖๐-๗๐ ลี้)การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาซ่องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่าทะเลสาบลือนาม ซึ่งนึกภูมิศาสตร์ของเราระบุว่่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อมๆจะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น
   ๔.ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีอาณาเขตกั้นด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสองเป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐-๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยามแยกออกเป็นสามแคว
   ๕.เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้ ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน
   ๖.สวนผลไม้บางกอก มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ
   ๗.เมืองอื่นๆบนฝั่งแม่น้ำ ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง(เชียงทอง)กำแพงเพชร(กำแปง)แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔ ๔๒ ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค
   ๘.ลำน้ำที่เรียกว่าแม่น้ำเหมือนกัน ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกันแม่น้ำสายอื่น เมืองพิษณุโลก มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙ เมืองนครสวรรค์ อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม(อยุธยา)ระยะทางขาขึ้น ๒๔ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพายและพายอย่างเร่งรีบ
    ๙.เมืองไม้ เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่นๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางที่มีกำแพงและอิฐ แต่มีน้อย
    ๑๐.ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองฟัน ทำให้มีชาวพะโค(มอญ)และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย

      ๑๑.ความเชื่อที่พระบาท อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕-๖ ลี้
      ๑๒.พระบาทคือ พิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบๆ ลงในหิน ลึก ๑๓-๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕-๖ เท่า กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้ ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี
      ๑๓.มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์ิสิทธิ์นี้ คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบๆพงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ(ซีลอน)องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแมน้ำไป


      ๑๔.อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัมและพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ "สวนสวรรค์ในไบเบิล"

ความสัมพันธ์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กับราชอาณาจักรสยาม

    
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เมื่อครั้งเป็นมงกุฎราชกุมารทรงพระนามว่า เซอร์เรวิช แกรนด์ ดุ๊ก นิโคลัส ได้เสด็จเยือนประเทศไทยหรือประเทศสยามในเวลานั้นระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2434 รวมเป็นเวลา 5 วัน โดยทรงได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดที่พักประทับแรมถวายที่พระราชวังสราญรมย์และได้นำเสด็จ "ปิกนิกใหญ่" ทอดพระเนตรการคล้องช้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นการตอบแทนที่นครเซนต์ปีเอตร์สเบิร์กเป็นเวลา 11 วัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเป็นเวลา 9 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2440 ซึ่งต่อมาได้ถือเป็นวันแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย อย่างเป็นทางการ การเสด็จเยือนรัสเซียพร้อมการฉายภาพทั้งสองพระองค์ประทับนั่งคู่กันตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วยุโรปถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราโชบายที่ทำให้ประเทศสยามรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษหรือฝรั่งเศส

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


บทที่ 2
ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                        การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
                การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถสืบย้อนได้ถึงสมัยที่ยังมีอาณาจักร Babylonian และอาณาจักร Egyptian หลักฐานที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ คือ ได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าชมในนคร Babylon เมื่อประมาณ 2600 ปีมาแล้ว สำหรับชาวอียิปต์ก็มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนาซึ่งดึงดูดทั้งผู้มีความเลื่อมใสและผู้ที่เพียงอยากมาชมตึกราม สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงหรือผลงานทางศิลปะของเมือง
                นักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 2300 ปีมาแล้ว ชาวกรีกนิยมเดินทางไปยังสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากกรีกมีการปกครองในแบบนครรัฐ ที่เป็นอิสระต่อกัน จึงไม่มีผู้มีอำนาจปกครองส่วนกลางที่จะสั่งให้มีการสร้างถนน นักท่องเที่ยวส่วนมากจึงเดินทางทางเรือ สินค้าต่างๆก็มีการขนส่งทางเรือ ชาวกรีกเป็นอีกชาติหนึ่งที่ชื่นชอบงานเทศกาล ศาสนาความเชื่อส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางการบันเทิงตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางด้านกีฬา ในช่วง 500 ปีก่อน คริสตกาล กรุงเอเธนส์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมสถานที่สำคัญ
                ชาวโรมันก็มีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เนื่องจากความกว้างใหญ่ไพศาลของอาณาจักรโรมัน ชาวโรมันในกรุงโรมันนิยมเดินทางไปพักร้อนยังบ้านพักร้อนบนภูเขา ซึ่งจัดว่าเป็นบ้านหลังที่สองของชาวโรมัน ชาวโรมันเข้าครอบครองเมืองปอมเปอี เมื่อ 80 ปีก่อนคริสตกาลทำให้เมืองนี้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนมั่งมีทั้งหลาย จากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชาวโรมันและชาวปอมเปอีมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมากจึงสามารถสร้างบ้านเรือนขึ้นอย่างสวยงามและมีร่องรอยของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทางสมัยนั้นคือ ความมั่นคงทางด้านการเมืองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ชาวโรมันมีอำนาจในการซื้อมากและเป็นนักล่าของที่ระลึกชาติแรกๆของโลก
                การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic tourism) ก็เฟื่องฟูมากไม่แพ้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้วว่ามีการสร้างบ้านพักหลังที่สองในหมู่คนร่ำรวยในบริเวณที่สามารถเดินทางไปถึงได้ไม่ไกลนักจากกรุงโรม ซึ่งจะเป็นที่สังสรรค์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
                การกระจายอำนาจทางการบริหารและอำนาจทางทหารในยุคอาณาจักรโรมันทำใหคนโรมันเดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อเยี่ยมญาติและเพื่อนฝูง เหมือนกับการเดินทางประเภท VFR ในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านการสื่อสารอย่างรวดเร็วประกอบกับชัยชนะของชาวโรมันทำให้ การเดินทางมีมากขึ้น
                อาณาจักรโรมันล่มสลายลงใน คศ.476 หรือในตอนกลางคริสศตวรรษที่ 5 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (The Middle Age) หรือยุคมืด (Dark Age)
                        สรุปได้ว่า ในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้งการท่องเที่ยวภายในประเทศ(Domestic) และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (International) แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดนเพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ หรือซีเรีย
มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆ
                ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับการเดินทางในสมัยแรกๆ มาจากข้อเขียนนักประวัติศาสตร์และนักเดินทางที่มีความสำคัญที่มีชื่อว่า Herodotus ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 484 ปี ถึง 424 ปีก่อนคริสตกาล อาจเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวคนแรกของโลกก็ว่าได้ Herodotus ได้บันทึกคำบอกเล่าของมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่น่าเหลือเชื่อต่างๆ จากบันทึกของ Herodotus ทำให้เราทราบว่ามัคคุเทศก์ในสมัยนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่และเรื่องราวต่างๆ ไม่เท่าเทียมกันมีความแตกต่างกันทั้งในด้านคุณภาพของข้อมูล และความถูกต้องของข้อมูลและมัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 พวกด้วยกัน  พวกแรกคือพวกที่เรียกว่า Periegetai มีหน้าที่คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่มส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า Exegetai เป็นพวกที่ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอบแทน มัคคุเทศก์เหล่านี้มักจะถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่นักท่องเที่ยว นักปรัชญาผู้หนึ่งชื่อว่า Plutarch ได้บันทึกเอาไว้เมื่อ 100 ปีก่อนคริสตกาลว่าพวกมัคคุเทศก์มักจะพร่ำพรรณาเกี่ยวกับจารึก และประวัติย่อต่างๆ ที่พบในแหล่งท่องเที่ยวมากมาย
                ในสมัยโรมันโบราณนักท่องเที่ยวชาวโรมันก็ประสบปัญหาสินค้าปลอมแปลงเช่นเดียวกัน เช่น  เทวรูปกรีก โดยเฉพาะเทวรูปที่แกะสลักโดย Praxiteles
การท่องเที่ยวในยุคกลาง
                ยุคกลางคือช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน แต่ก่อนจะเข้ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยากร ยุคกลางเรียกกันว่า ยุคมืด ช่วงเวลาดังกล่าวถนนและเศรษฐกิจถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตกต่ำแต่ศาสนจักรโรมันคาทอลิค ยังคงเป็นศูนย์รวมของสังคมและอำนาจการเดินทางมีความลำบากมากขึ้นและอันตรายมากขึ้น
                คนชั้นสูงและชั้นกลางนิยมเดินทางเพื่อการแสวงบุญ เป็นการเดินทางที่ไกลขึ้นสำหรับผู้ที่เคร่งศาสนาสถานที่ที่ผู้เลื่อมใสนิยมเดินทางไปได้แก่เมือง Winchester เมือง Walsingham และเมือง Canterbury นำมาแต่งเป็นนิทานชื่อ Canterbury’s Tales
                ปัญหาที่นักเดินทางในยุคกลางต้องเผชิญคือ โจรร้ายทีคอยดักปล้นนักเดินทางมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง และเป็นผู้ปกป้องนักเดินทางด้วย มัคคุเทศก์สมัยนั้นจึงได้รับค่าจ้างสูง ค่าจ้างมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาอูฐตัวหนึ่ง  การที่เดินทางเพื่อการแสวงบุญมีความบันเทิงและการเฉลิมฉลองควบคู่กันไประหว่างการเดินทาง ทำให้เกิดการบริการด้านอาหารและที่พักเกิดขึ้น ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ
1.                มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แก่การแสวงบุญ
2.                ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจ
3.                ผู้แสวงบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของที่ระลึก
การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 19
                        ในช่วงก่อนที่จะถึงศตวรรษที่ 16 คนที่ต้องการเดินทางมีวิธีที่จะทำได้ 3 วิธี คือ ด้วยการเดินเท้าซึ่งเป็นวิธีของคนจน วิธีที่สองคือการขี่ม้า และวิธีสุดท้ายคือ ใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นวิธีการหลังนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเป็นวิธีที่ช้าและทรมาน ดังนั้นคนที่เดินทางในสมัยนั้นจึงเป็นพวกชนชั้นปกครองหรือคนในราชสำนักซึ่งมักจะมีผู้คุ้มกันอย่างแน่นหนา และพวกคนรวยที่มีบ้านหลังสองในชนบทเท่านั้นที่จะเดินทางเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินจนล่วงถึงศตวรรษที่ 18
                การพัฒนารถม้า 4 ล้อ ที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริงนับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่สำหรับ คนที่จำเป็นต้องเดินทาง การประดิษฐ์รถที่มีระบบกันสะเทือนอย่างง่ายที่สุดสามารถสืบย้อนไปได้ที่เมือง Kocs ในประเทศฮังการี ในศตวรรษที่ 15 และในต้นศตวรรษที่ 17(คศ. 1505) รถม้า ตู้ทึบ 4 ล้อมีบริการในประเทศอังกฤษ
                ในศตวรรษที่ 18 มีระบบทางด่วนที่ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าผ่านทางเกิดขึ้น โดยมีการปรับปรุงผิวการจราจรทำให้รถตู้ 4 ล้อ ลากด้วยม้าซึ่งบรรทุกคนได้ระหว่าง 8-14 คน วิ่งได้ถึง 40 ไมล์ต่อวันในช่วงฤดูร้อน ประมาณ คศ. 1815 ถนนหนทางในทวีปยุโรปมีการพัฒนาดีขึ้น หลุมบ่อน้อยลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการค้นพบประโยชน์ของยางมะตอย ทำให้การเดินทางเร็วขึ้น มีการพัฒนารถโดยสารนั่งหันไปทางด้านหน้าของรถ ชื่อของรถแบบนี้ได้มาใช้กับรถยนต์โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวในตอนต้นศตวรรษที่ 20
แกรนด์ทัวร์ (Grand Tour)
                ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเสรีภาพและความต้องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ 300 ปี เริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 และสิ้นสุดลงในราวศตวรรษที่ 17 โดยมีอิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นต้นฉบับให้ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ฝรั่งเศส เยอรมณี ยุโรปเหนือและอังกฤษตามลำดับในศตวรรษที่ 18 ผู้คนที่ร่ำรวยมีจำนวนมากขึ้นทั่วประเทศอังกฤษ การค้าขายต่างประเทศมากขึ้น นักการทูตเพิ่มขึ้น คนชั้นสูงในอังกฤษนิยมส่งลูกชายเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับอาจารย์ผู้สอนประจำตัว การเดินทางแบบนี้เรียกว่า Grand Tour การเดินทางซึ่งใช้เวลา 3 ปี เป็นช่วงเวลาของการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเมืองหลวงต่างๆ ของยุโรปตะวันตก การเมืองวัฒนธรรมและสังคมยุโรปตะวันตก
                ในปีคศ. 1749 Dr.Thomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาเล่มหนึ่งให้ชื่อว่า The Grand Tour หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้น
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่ (Spa)
                        การอาบน้ำแร่หรือ Spa เป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่ยุคโรมันเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา แต่ความนิยมการไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าการนิยมอาบน้ำแร่จะลดลงไปสิ้นเชิง เพราะคนเจ็บป่วยก็ยังเดินทางไปยังเมือง Bath ตลอดช่วงของยุคกลางในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ความนิยมที่จะใช้อาบน้ำแร่เพื่อบำบัดโรคได้ กลับกลายมาเป็นที่นิยมขึ้นใหม่ในประเทศอังกฤษและเมืองใหญ่ๆบางแห่ง
                ใน ค.ศ. 1562 Dr.William Turner ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำแร่ที่เมือง Bath และที่อื่นๆ ในทวีปยุโรปว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้ ทำให้เมือง Bath และแหล่งน้ำแร่อีกแห่งที่เมือง Buxton ได้กลับกลายมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1626 Elizabeth Farrow ได้ก่อให้เกิดความสนใจในบ่อน้ำพุแห่งใหม่ที่เมือง Chalybeate ในแคว้น Scarborough ซึ่งต่อมาได้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจประเภท Spa resort แห่งแรก
                ในที่สุดในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 บรรดารีสอร์ทต่างๆก็พากันเปลี่ยนโฉมไปสู่ตลาดล่าง ตามวงจรชีวิตของตลาด นำไปสู่การเปลี่ยนประเภทของลูกค้าจากชนชั้นสูงที่เป็นเจ้าของที่ดินไปสู่ กลุ่มพ่อค้าที่ร่ำรวยและนักวิชาชีพ  ในช่วงนี้ธุรกิจต่างๆรวมทั้งสปาลดความนิยมลงไป
กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล
                การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นต้นมา การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้อาบอาบทั้งเสื้อผ้า เพราะการถอดเสื้อผ้าผิดจารีตในสมัยนั้น ความคิดที่ว่าการอาบน้ำทะเลได้ยอมรับกันในตอนต้นศตวรรษที่ 18 และจากช่วงระยะเวลานี้สถานที่ตากอากาศชายทะเลก็ตามบริเวณชายฝั่งทะเลของเกาะอังกฤษก็เริ่มผุดขึ้น ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่แสวงหาการบำบัดโรคด้วยการดื่มน้ำทะเลและอาบน้ำทะเลที่เมือง Scarborough ซึ่งเดิมมีชื่อเสียงในเรื่องของบ่อน้ำแร่ และเมืองที่ติดทะเลด้วย เป็นเมืองแรกที่คนนิยมไปบำบัดโรคด้วยน้ำทะเล และตามมาด้วยเมือง Brighton ความนิยมไปบำบัดโรคด้วยน้ำทะเลใน 2 เมืองนี้ เริ่มต้นราวทศวรรษที่ 1730 Dr.Richard Russel ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำทะเลขึ้น ใน ค.ศ. 1752 เป็นการกระตุ้นให้การอาบน้ำทะเลเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
                แต่เนื่องจากการเดินทางจากลอนดอนไป Brighton ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ยังคงต้องใช้เวลา 2 วัน และเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับค่าแรงจากการทำงานถึง 6 สัปดาห์ และที่พักก็ไม่เพิ่มขึ้นทันกับความต้องการ แต่เมื่อถึงต้นศตวรรษที่ 19 ความสะดวกในการเดินทางก็มีมากขึ้นทำให้การเดินทางท่องเที่ยวมีมากขึ้นเนื่องมาจากเกิดการเดินทางด้วยเรือกลไฟ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 19
                        จากประวัติย่อของการท่องเที่ยวตั้งแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 19 เราจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง เราอาจแบ่งปัจจัยเหล่านี้ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง และปัจจัยดึงดูดให้คนเดินทาง
                ต้นศตวรรษที่ 19 ที่ได้เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งที่รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายพอประมาณ การขนส่งที่ดีจะต้องได้รับการสนับสนุนด้วยการมีที่พักเพียงพอ ณ จุดหมายปลายทางในยุคกลางที่พักของนักเดินทางคือวัดต่างๆ แต่ตอนหลังถูกยกเลิกไป
                ข้อจำกัดอีกอย่างสำหรับนักเดินทางได้แก่ความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ การขจัดข้อจำกัดทั้งหลายจะส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง แต่แรงจูงใจในการเดินทางที่แท้จริงต้องมาจากตัวนักท่องเที่ยวเอง นั่นคือ ความปรารถนาที่จะเดินทาง ความต้องการที่จะไปจากที่ที่ตัวเองคุ้นเคยอยู่ทุกวัน และทำความรู้จักคุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ๆ  วัฒนธรรมใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ การเกิดชุมชนเมืองอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 19 เป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการเดินทาง
                โดยสรุปประเทศอังกฤษในตอนต้นศตวรรษที่ 19 อยู่ในช่วงที่เริ่มเกิดความต้องการทางด้านการเดินทาง ประกอบกับการเกิดระบบการขนส่งสมัยใหม่ทำให้ความต้องการที่จะเดินทางกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้
ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ : กำเนิดการเดินทางทางรถไฟ
                ทางรถไฟสายแรกถูกสร้างขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1825 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์) ระหว่างเมือง Stockton และ Darlington นับเป็นการจุดประกายการเดินทางด้วยรถไฟให้กับที่อื่นๆในโลก และเป็นจุดหักเหในเรื่องรูปแบบของการเดินทางก่อนหน้านี้การเดินทางส่วนใหญ่เป็นการเดินทางทางถนน ในปีค.ศ. 1825 ความนิยมเดินทางทางเรือลดลง แต่การเดินทางทางรถไฟเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีทางรถไฟเชื่อมถึงเมืองใหญ่ที่มีคนหนาแน่นและเมืองอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศอังกฤษ และในยุโรปและเกือบทั่วไปในโลก ส่วนในสหรัฐอเมริการมีบริการทางรถไฟเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1820 และในปี 1869 เส้นทางรถไฟเชื่อมถึงฝั่งตะวันตกก็สมบูรณ์ เส้นทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดสายหนึ่งก็คือสาย  Trans – Siberian เปิดขึ้นใน ค.ศ. 1903 เชื่อม Moscow กับ Vladivostok และ Port Arthur
                        ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการประดิษฐ์ กล้องถ่ายรูปขึ้นเป็นผลสำเร็จ ทำให้มีการเดินทางอันเนื่องมากจากแรงจูงใจทางด้านเกียรติภูมิ และความมีหน้ามีตา เป็นครั้งแรกที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยุโรป สามารถถ่ายภาพตัวเองโดยมีฉากหลังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้คนที่ไม่ได้เดินทางได้เห็น ความสำเร็จแห่งการเดินทางของตน
                การเดินทางรถไฟขยายตัวมากขึ้น และความนิยมการเดินทางโดยรถม้าลดลง บริษัทรถม้าบางแห่งพยายามเอาตัวรอดได้โดยรับส่งผู้โดยสารด้วยรถม้าจนถึงสถานีรถไฟ แต่โดยรวมแล้วการเดินทางบนถนนน้อยลง พร้อมกับโรงแรมที่พัก สำหรับ inn ที่ตั้งอยู่บริเวณ resort ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของนักเดินทางทางรถไฟ แต่ที่พักตามเมืองศูนย์กลางไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยุคของการสร้างโรงแรมจึงเกิดขึ้น โดยมีเจ้าของบริษัทรถไฟเป็นผู้นำ ทำให้เกิดโรงแรมตามสถานีรถไฟ นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมโรงแรมในศตวรรษต่อมา การลงทุนก่อสร้างที่สูงทำให้เกิดการรวมตัวเป็นโรงแรมในเครือและเป็นบริษัทต่างๆ
                เรื่องของสุขภาพยังคงมีบทบาทสำคัญในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยววันหยุดแต่การมุ่งเน้นเริ่มเปลี่ยนจากประโยชน์ของการอาบน้ำทะเลไปเป็นประโยชน์ของการสูดอากาศชายทะเล บรรยากาศเริ่มกลายเป็นจุดเด่นของการโฆษณารีสอร์ท เช่นบางแห่งมีแสงแดดเกือบตลอดทั้งปี สถานที่ตากอากาศในต่างประเทศหลายแห่งเป็นที่นิยมกันมากขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นสถานที่ที่ขัดแย้งกับค่านิยมทางด้านศีลธรรมของชนชั้นกลางในสมัยวิคตอเรียน (1837-1931)
                การบริการบนรถไฟที่วิ่งเป็นระยะทางไกลเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการคิดทำรถตู้นอนซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย George Pullman ในปี 1864 และนำเข้าสู่ทวีปยุโรปโดยบริษัทฝรั่งเศสชื่อ Wagon-Lits ในปี 1869
                        รูปแบบอื่นๆของการท่องเที่ยวเกิดขึ้นจากสมัยนิยมเกี่ยวกับความโรแมนติกในตอนกลางยุควิคตอเรียน (ประมาณปีคศ.1869) สถานที่ตากอากาศที่ให้บรรยากาศโรแมนติก ได้แก่ แม่น้ำไรนห์และริเวียร่าของฝรั่งเศส ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากอังกฤษ ที่ต้องการบรรยากาศโรแมนติก ส่วนชาวอังกฤษที่ต้องการสูดอากาศบนภูเขาที่สดชื่นเพื่อสุขภาพดี จะนิยมไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การท่องเที่ยวภูเขาเป็นการท่องเที่ยวที่นิยมกันมากสำหรับชาวอังกฤษในทศวรรษที่ 1860 และก็เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดกีฬาเล่นสกีในสวิตเซอร์แลนด์
เรือกลไฟ
                เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เกิดพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางทางน้ำ การพัฒนาทางด้านการค้าทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทวีปอเมริกาเหนือทำให้ประเทศอังกฤษต้องพัฒนาการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ที่เร็วขึ้นและเชื่อใจได้มากยิ่งขึ้น ในอังกฤษกับเมือง Dieppe ในฝรั่งเศส แต่เรือกลไฟเพื่อการค้าข้ามช่องแคบที่วิ่งอยู่ประจำเพิ่งจะเริ่มต้นในปี 1821 โดยเปิดวิ่งระหว่างเมือง Dover ของอังกฤษ และ Calais ของฝรั่งเศส  บริษัทที่ดำเนินกิจการรถไฟเพิ่งจะตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงจึงซื้อกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินกิจการเรือข้ามฟากเองทำให้บริการเรือกลไฟข้ามช่องแคบขยายตัวกว้างขวางขึ้น
                   ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการด้วยเรือน้ำลึก ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นมหาอำนาจทางการขนส่งทางทะเลในช่วงหลังศตวรรษที่ 19 แต่ในภายหลังก็มีคู่แข่งเกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนืออีกหลายบริษัท การบริการทางเรือเป็นกิจการที่นำความมั่งคั่งมาสู่ผู้ประกอบการไม่เพียงจากการรับส่งไปรษณีย์ภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นจากการรับส่งผู้โดยสารและสินค้ากับทวีปอเมริกาเหนือด้วย จากความสะดวกในการเดินทางด้วยเรือกลไฟทำให้มีผุ้อพยพออกจากทวีปยุโรปเป็นจำนวนมากไปยังทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศไอร์แลนด์ ส่วนนักท่องเที่ยวอเมริกามาเยือนยุโรปก็มีอยู่บ้าง
การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 ( 1901-200) ช่วง 50 ปีแรก (1901-1950)
                             ในช่วงนี้การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อไปเพราะความมั่งคั่งของผู้คน ความอยากรู้ อยากเห็น และทัศนคติที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในยุคหลังสมัยวิคตอเรีย ประกอบกับการพัฒนาระบบการขนส่งอย่างต่อเนื่อง นักเดินทางมีความปลอดภัยจากโรคภัยและการโจมตี มีหลักฐานแสดงว่าก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่  1 นักท่องเที่ยวจากอังกฤษไปตากอากาศที่ริเวียร่าในช่วงฤดูหนาวถึง 50000 คน การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงักไปชั่วคราวและเป็นที่มาของหนังสือการเดินทางในหลายประเทศภายหลัง
                   รูปแบบของการเดินทางเปลี่ยนไป ความนิยมในการเดินทางด้วยรถไฟลดลงเพราะคนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน พัฒนารถบรรทุกที่ขนสัมภาระในสงครามให้เห็นเป็นรถ Coach พาหนะแบบนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ 1920 รถ Coach แบบหรูของบริษัท Motorways แบบนั่งสบายขนาด 15 ที่นั่ง มีบาร์และห้องน้ำ ยี่ห้อ Pullman วิ่งบริการในยุโรปและแอฟริกาเหนือ นำเที่ยวซาฟารีในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกและวิ่งระหว่างลอนดอนกับนีซ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ความมีอิสระจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวทำให้ความนิยมในรถไฟลดน้อยลง การใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อการเดินทางเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ Henry Ford ผลิตรถยนต์รุ่น Model T ในราคาที่คนเป็นเจ้าของได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908 และในทศวรรษที่ 1920 การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็เป็นการท่องเที่ยวที่นิยมในหมู่คนชั้นกลางในประเทศอังกฤษ
                   การกำเนิดอุตสาหกรรมการบินในระยะแรกเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของบริการทางรถไฟและเรือกลไฟ
การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                   การเดินทางทางอากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 1950 ค่าโดยสารจะค่อนข้างแพงก็ตาม การขยายตัวนี้เนื่องมากจากมีเครื่องบินที่เหลือจากสงครามและทัศนคติที่ยอมรับผู้ประกอบการเอกชนมาทำธุรกิจการบิน และการที่ผู้ประกอบการบางคนปรากฎตัวด้วยการเดินทางทางเครื่องบิน เช่น Harold  Bamberg และ Freddie  Laker ในปี ค.ศ.1958 ได้มีการแนะนำเครื่องบินไอพ่นโบอิ้ง 707 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางทางอากาศแบบมหาชนเป็นครั้งแรก
                   ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการบินได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ในปีนี้ได้มีการเปิดตัวเครื่องบินเจทลำตัวกว้างรุ่นโบอิ้ง 747 ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 400 คน ทำให้ต้นทุนค่าโดยสารต่อหัวลดลงอย่างมาก การนำเอาเครื่องบินรุ่นใหม่ทีทันสมัยนี้ออกมาให้บริการทำให้มีการปลดเครื่องบินรุ่นเก่าขนาดที่เล็กกว่า แต่มีสภาพดีและเครื่องบินเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้บริการให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำเพื่อทำธุรกิจทัวร์เหมา ซึ่งเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ความจริงการจัดทัวร์เหมาได้เริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 แล้วโดยการริเริ่มของ Thomas Cook โดยจัดทัวร์เหมาเดินทางด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำ พานักท่องเที่ยวเดินทางจากนิวยอร์คไปชิคาโก เพื่อดูการแข่งขันชกมวยในปี ค.ศ. 1927 ในปี 1949 Vladimir Raitz จัดทัวร์ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำไปยังเกาะ Corsica แนวคิดของเขาได้ถูกลอกเลียนโดยผู้ประกอบการอื่นๆในระยะต่อๆมา ในทศวรรษที่ 1960 มีการจัดทัวร์เหมาไปเที่ยวแถบเมติเตอรเรเนียน อย่างแพร่หลายประเทศที่นิยมจัดทัวร์ไปกันได้แก่ตามเมืองชายฝั่งของประเทศสเปน หมู่เกาะ Balearic อิตาลี กรีซ เป็นต้น